วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การลีลาศในประเทศไทย            การลีลาศในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัด แต่จากบันทึกของแหม่ม
แอนนา ทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่า เมืองไทยมีลีลาศมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 และบุคคลที่ได้รับการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกก็คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามบันทึกของแหม่มแอนนาเล่าว่า ในช่วงหนึ่งของการสนทนาได้พูดถึงการเต้นรำ ซึ่งแหม่มแอนนาพยายามสอนพระองค์ท่านให้รู้จักการเต้นรำแบบสุภาพ ซึ่งเป็นที่นิยมของชาติตะวันตก พร้อมกับแสดงท่า และบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นหรูมาก มักนิยมเต้นกันในวังยุโรป ซึ่งพระองค์ท่านก็ฟังอยู่เฉยๆ ไม่ออกความเห็นใดๆ แต่พอแหม่มแอนนาแสดงท่า พระองค์ท่านกลับสอนว่าใกล้เกินไปแขนต้องวางให้ถูก และ พระองค์ท่านก็เต้นให้ดู จนแหม่มแอนนาถึงกับงง จึงทูลถามว่าใครเป็นคนสอนให้พระองค์ ท่านก็ไม่ตอบจึงไม่รู้ว่าใครเป็นผู้สอนพระองค์ สันนิษฐานกันว่าพระองค์ท่านคงจะศึกษาจากตำราด้วยพระองค์เอง
            ในสมัยรัชกาลที่ 5 การเต้นรำยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก คงมีแต่เจ้านายในวังที่เต้นกัน ส่วนใหญ่มักจะเต้นจังหวะวอลซ์เพียงอย่างเดียว และบางครั้งได้มีการนำเอาจังหวะวอลซ์ไปสอดแทรกในการแสดงละครด้วย เช่น เรื่องพระอภัยมณี ตอนที่กล่าวถึงนางละเวงได้กับพระอภัยมณี
            ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทุกๆ ปีในงานเฉลิมพระชนมพรรษาก็มักจะจัดให้มีการเต้นรำกันใน พระบรมมหาราชวัง โดยมีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประธาน ซึ่งบรรดาทูตานุทูตทั้งหลายต้องเข้าเฝ้า ส่วนแขกที่ชิญนั้นต้องได้รับบัตรเชิญจึงจะเข้าไปในงานได้
           

                                                                  
ประวัติการเต้นลีลาศ

ประวัติการลีลาศหรือเต้นรำ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันกับเต้นรำแบบอื่นๆ มาก
เช่น  การเต้นระบำบัลเล่ย์ การเต้นรำพื้นเมือง ฯลฯ จึงขอสรุปโดยแบ่งยุคการเต้นรำออกเป็น 6 ยุคดังนี้

  1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์     
                                      
                         
  2. ยุคโบราณ                   


3. ยุคกลาง                   
 
        
    4. ยุคฟื้นฟู                    


   5. ยุคโรแมนติค       


 6. ยุคปัจจุบัน